วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กฎหมาย


กฎหมาย

1. กฎหมาย คืออะไร?
กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น
ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม
นั้น ๆ


2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
- กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
-กฎหมายกำหนดความประพฤติของบุคคล
- กฎหมายมีสภาพบังคับ
-กฎหมายมีกระบวนการอันเป็นกิจจะลักษณะ

3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
- กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
- กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

- กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

-กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น


ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายแยกเป็น 2 ประเภท คือ
-กฎหมายมหาชน
-กฎหมายเอกชน
การเเบ่งตามหลักเกณฑ์มีดังนี้
-เกณฑ์องค์กร
-เกณฑ์วัตถุประสงค์
-เกณฑ์วิธีการ
-เกณฑ์เนื้อหา
5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1.รัฐธรรมนูญ
2.พระราชบัญญัติ
3.พระราชกำหนด
4.พระราชกฤษฎีกา
5.กฎกระทรวง
6.ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้เเก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เเละข้อบัญญัติเมืองพัทยา

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
1.ซีวิลลอว์ที่ยังใช้กฎหมายโรมันและไม่มีแนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่ง ได้แก่ อันดอรา และซานมาริโน
2.ซีวิลลอว์ที่เป็นระบบผสม กฎหมายโรมันเป็นบ่อเกิดกฎหมายที่สำคัญ แต่ยังได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ด้วย ได้แก่ สกอตแลนด์ และประเทศที่ใช้กฎหมายโรมัน-ดัตช์ (แอฟริกาใต้ แซมเบีย ซิมบับเว ศรีลังกา และกียานา)
3.ซีวิลลอว์ที่ใช้ประมวลกฎหมายเป็นหลัก เช่น ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว "ซีวิลลอว์" จะหมายถึงระบบกฎหมายซีวิลลอว์ประเภทนี้ และในบทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงซีวิลลอว์ประเภทนี้เป็นหลัก
4.ซีวิลลอว์ประเภทสแกนดิเนเวียน โดยมีพื้นฐานมาจากกฎหมายโรมันและกฎหมายจารีต รวมไปถึงการจัดทำประมวลกฎหมายบางส่วน กฎหมายของรัฐหลุยเซียน่าและควิเบกอาจถือได้ว่าใช้ระบบผสม ที่มีทั้งประมวลกฎหมายแพ่งในรูปแบบฝรั่งเศสและกฎหมายจารีตของฝรั่งเศสในยุคก่อนปฏิวัติ และยังได้รับอิทธิพลจากระบบคอมมอนลอว์ด้วย

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
1) เป็นการนำเอาจารีตประเพณีของท้องถิ่นมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังนี้เมื่อมีคำตัดสินจากศาลหลวงดังกล่าวท้องถิ่นนั้น ๆ ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างท้องถิ่นและมีปัญหาว่าจะใช้จารีตประเพณีของท้องถิ่นใดตัดสิน ได้รับการคลี่คลายโดยระบบศาลหลวงเป็นผู้ตัดสินคดีข้อพิพาทนั้น ๆ เช่นกัน
2) ในกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีของท้องถิ่นศาลหลวงจำต้องสร้างหลักกฎหมายขึ้นมาใหม่โดยเป็นการใช้เหตุผลไปพิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดเป็นข้อพิพาทแล้วศาลหลวงวางหลักเกณฑ์ในการตัดสินชี้ขาดจากการพิจารณาเหตุผลที่แฝงอยู่ในความสัมพันธ์ทางข้องเท็จจริงนั้นหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ต่างจากการใช้กฎหมายท้องถิ่นแบบเดิมมิใช่เป็นกฎหมายจารีตประเพณีแต่เป็นการวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไปนั้นเอง

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง
มี2 ระบบ ได้แก่
1.กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.กฎหมายลายลักษณ์อักษร


9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด
ใช้ระบบ Civil law หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
1.ประชากร
2. ดินแดน
3.รัฐบาล
4.อำนาจอธิปไตย